วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทสัมภาษณ์ผู้ประสบความสำเร็จอาชีพวิศวกรโยธา




บทสัมภาษณ์

ชื่อ : นายสมชาย ปิยวชิรอัมพร
จบการศึกษาจาก : คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธา
                              มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ จ.เชียงใหม่
ปัจจุบัทำงาน : ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ธนสนธิ จำกัด เครือ Thaibev 


               สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นตัวแทนนักเรียนโรงเรียนราชินีบูรณะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ขอสัมภาษณ์ คุณสมชาย ปิยวชิรอัมพร ค่ะ

Q : ทำไมคุณถึงเลือกเรียนคณะนี้ ?
" เลือกคณะนี้้เพราะว่าผมสนใจในด้านงานถนน การสร้างเขื่อน ระบบระบายน้ำ และคลองชลประทาน "


Q : คุณรู้สึกอน่างไรในช่างแรกที่เข้าศึกษาคณะนี้ ?
" รู้สึกภาคภูมิใจมากครับที่ได้คณะที่นี้ ช่วงแรกๆต้องปรับตัวในเรื่องการเรียนทั้งหมด เพราะการศึกษาในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากโรงเรียนค่อนข้างมาก ในความคิดของผมคิดว่า เรื่องของไหลเป็นเรื่องที่ยากที่สุด " 

Q : ลักษณะงานของอาชีพวิศวกรโยธาเป็นอย่างไร ?
" ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับโครงสร้างต่างๆ เช่น โครงสร้างอาคาร โครงสร้างเขื่อน " 


Q : คุณคิดว่าอาชีพวิศวกรโยธามีความก้าวหน้าหรือไม่ ?
" มีความก้าวหน้าครับ อาชีพวิศวกรเปรียบเหมือนแพทย์ เพราะต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่และความปลอดภัยของโครงสร้างต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายได้ " 


Q : คุณมีคำแนะนำให้กับนักเรียนอื่นๆที่สนใ0เรียนตณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธาอย่างไร ?
" ต้องเป็นผู้ที่มีความอดทน ขยัน มีความเอาใจใส่ ไม่ละเลยต่อหน้าที่ เพราะความปลอดภัยนั้นสำคัที่สุด มีความสนใจกับสิ่งรอบข้าง คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงรอบด้านเสมอ มีความรู้เกี่ยวกับธรณีวิทยา มีความกล้าในการตัดสินใจ ผมคิดว่าถ้ามีความตั้งใจจริง คณะนี้ก็ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ " 

Q๐

Q

๐ 

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วิศวกรรมศาสตร์ คืออะไร



วิศวกรรมศาสตร์

                  วิศวกรรมศาสตร์ คือ การประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาตร์อย่างสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, หรือกระบวนการผลิต หรืองานเพื่อการใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้โดดๆหรือประยุกต์เข้าด้วยกัน หรือเพื่อการสร้างหรือใช้งานสิ่งเหล่านั้นด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ใช้งานอย่างหมดจด หรือเพื่อการพยากรณ์พฤติกรรมของสิ่งเหล่านั้นภายใต้สภาวะที่เจาะจง สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จักต้องคำนึงถึงความมุ่งหมายในการใช้งาน, ความคุ้มค่าในการปฏิบัติการ แลความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพยสินด้วย


สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์นั้นคล้ายคลึงกับวิทยาศาสตร์ที่ มีขอบข่ายกว้างขวางจนสามารถแตกแยกย่อยลงมาได้หลายสาขาย่อย และในแต่ละสาขาย่อยต่างก็มองตัวเองในสายงานต่างๆทางวิศวกรรม ถึงแม้ว่าในช่วงแรก วิศวกรจะถูกฝึกศึกษามาในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่หลังจากผ่านประสบการณ์งานในสายวิศวกรรมมาแล้ว วิศวกรผู้นั้นอาจจะมีความสามารถในการทำงานได้หลากหลายสาขา โดยประวัติศาสตร์แล้ว วิศวกรรมสาขากหลักๆแบ่งได้ดังนี้
วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน - ออกแบบอากาศยาน อวกาศยาน และสิ่งที่เกี่ยวข้อง
  • วิศวกรรมเครื่องกล - ออกแบบระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบกันกระเทือน
  • วิศวกรรเคมี - ใช้หลักการทางเคมีในกระบวนการผลิตเคมีอุตสาหกรรม รวมไปถึงการค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงและวัสดุจำเพาะใหม่ๆ
  • วิศวกรรมไฟฟ้า - ออกแบบระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
  • วิศวกรรมโยธา - ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึกและอาคารบ้านเรือน
เนื่อง ด้วยพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี วิศวกรรมสาขาใหม่ๆมีความสำคัญมากขึ้นและได้รับการพัฒนาเช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแม็คคาทรอนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต นาโนเทคโนโลยี บางครั้ง สาขาใหม่นั้นก็เกิดขากการผสมผสานความรู้ของสาขาเดิมเข้าด้วยกัน การเกิดขึ้นใหม่ของสขาทางวิศวกรรมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะถูกนิยามแบบชั่วคราว ในหลากหลายรูปแบบ หรือนิยามในฐานสาขาย่อยของสาขาที่มีอยู่แล้ว ช่วงว่างของความรู้นี้ เมื่อได้รับความสนใจศึกษามากขึ้น ก็จะได้รับการยกระดับให้เป็นสาขาใหม่ ตัวชี้วัดได้ตัวหนึ่งของการเกิดสาขาใหม่นั้นคือการตั้งสาขาวิชาหรือหลักสูตร ของมหาวิทยาลัยชื่อดัง
สำหรับ วิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละสาขาที่มีปรากฏนั้น มักจะมีการเหลื่อมล้ำของความรู้ โดยเฉพาะในสาขาที่มีการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์
วิศวกร คอมพิวเตอร์จะต้องเคยศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ วิศวกรคอมพิวเตอร์อาจจะมีความรู้เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ หรือ มีความรู้พอ ๆ กันทั้งสองด้านก็ได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นคือวิศวกรคอมพิวเตอร์จะมีความรู้ทางด้านการวิศวกรรมที่ดีด้วย
ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องบันทึกวิดีทัศน์ระบบดิจิทัล ระบบเตือนภัย เครื่องถ่ายรังสีเอ็กซ์ และ เครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ (อังกฤษ: Mechatronics) เป็นสหวิทยาการเชิงประยุกต์ ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วย วิศวกรรมเครื่องกลวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน Mechatronics มาจากการผสมคำว่า "Mechanics" และ "Electronics" โดยวิศวกรจากบริษัท Yakawa Electric ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (CAD/CAM/CAE) คอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่ง และระบบควบคุม ผสานเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เพื่อนำผลของการผสมผสานไปพัฒนาในงานระบบอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างผลงานที่สร้างจากสาขาวิชานี้ได้แก่ “ระบบอัจฉริยะ” (Intelligent Systems) ซึ่งมีกลไกที่สามารถทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ ตามความต้องการที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างของระบบที่มีระบบเมคคาทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์กู้ภัย เป็นต้น
วิศวกรรมไฟฟ้า (อังกฤษ: Electrical Engineering) เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อย
*ไฟฟ้ากำลัง เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับ การผลิต การส่ง และ การจ่ายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่โรงงานผลิตไฟฟ้า ส่งกำลังผ่านโครงข่ายสายส่งไฟฟ้า ไปยังผู้บริโภคทั้งที่เป็นอุตสาหกรรม แหล่งธุรกิจ และ บ้านเรือนที่พักอาศัย
สาขา นี้จะเกี่ยวพันกับทั้ง โครงข่ายสายส่ง และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการส่งกำลังไฟฟ้า ที่ศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าที่ศักย์ไฟฟ้าตามบ้านมาก ตั้งแต่หลายพันโวลต์ จนถึง หลายแสนโวลต์ และส่งกำลังหลายล้านวัตต์
ทุก วันนี้ สาขานี้ยังรวมไปถึงเศรษฐศาสตร์ ของไฟฟ้ากำลังอีกด้วย ทั้งการวิเคราะห์และคาดหมายปริมาณการบริโภคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ไฟฟ้า รูปแบบโครงสร้างเสรีในการซื้อขายกำลังไฟฟ้า
*สื่อสาร/โทรคมนาคม สาขา นี้เป็นสาขาที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะเกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลในรูปสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในรูป สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ว่าจะส่งผ่านสื่อตัวกลางซึ่งอยู่ในรูป สายตัวนำ หรือ สายใยแก้ว หรือ ผ่านอากาศในรูปคลื่นวิทยุซึ่งนอกเหนือจากในแง่ทางกายภาพของอุปกรณ์รับส่ง และ สื่อตัวกลาง แล้วยังรวมถึงสถาปัตยกรรมของระบบสื่อสาร ทั้งในแง่โครงสร้างโดยรวมทางกายภาพของเครือข่าย และ สถาปัตยกรรมทางซอฟต์แวร์ เช่น โครงสร้างเครือข่ายระบบเซลลูลาร์ โครงสร้างเครือข่ายระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม โครงสร้างเครือข่ายระบบสื่อสารด้วยใยแก้วแบบต่างๆ รวมถึงโพรโทคอล เทคโนโลยีการมัลติเพล็กซ์ และ การเข้ารหัสของช่องสัญญาณแบบต่างๆ
*อิเล็กทรอนิกส์ สาขา ย่อยอิเล็กทรอนิกส์นี้ เดิมทีเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และ ทดสอบวงจรไฟฟ้า ซึ่งสร้างจากอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางแม่เหล็กไฟฟ้า ตั้งแต่หลอดสูญญากาศ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ขดลวดเหนี่ยวนำ จนถึง อุปกรณ์จากสารกึ่งตัวนำเช่น ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และ อื่นๆ เพื่อให้เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามจุดประสงค์ที่ต้องการ เช่น เป็นวงจรรับวิทยุ วงจรเครื่องขยายเสียง
*วิศวกรรมระบบควบคุม นี้จะเกี่ยวข้องกับการ วิเคราะห์ระบบ และ ออกแบบระบบควบคุม โดยมีพื้นฐานจากแบบจำลองทางคณิตศาตร์ ของระบบ เครื่องมือวัด และ ตัวควบคุม การประยุกต์ใช้งานจริงนั้นจะประกอบจากการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ของเครื่องมือวัด และ ตัวควบคุม ซึ่งโดยส่วนใหญ่ (แต่ไม่จำกัดเฉพาะ) จะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า เนื่องจากสามารถออกแบบให้มีการทำงานที่ซับซ้อนและขนาดเล็ก หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมที่ซับซ้อน
วิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ด้วยระบบสุ่มข้อสอบทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะระดับ "ภาคีวิศวกร" ประกอบด้วยสาขาย่อยดังนี้
วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)
ศึกษา เกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น
วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)
ศึกษา เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศและระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร
วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)
ศึกษา แยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน
วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมธรณี (Geological engineering)
ศึกษา เกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย
วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ
วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (อังกฤษ: Information and Communication Engineering (ICE)) เป็นสหวิทยาการทางวิศวกรรมเชิงประยุกต์โดยเป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ทางวิศวกรรมว่าด้วยการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตระบบ สารสนเทศและระบบการสื่อสาร สำหรับอุตสาหกรรมหรือองค์กรวิสาหกิจที่มีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและ สารสนเทศขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรวิสาหกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจสารสนเทศเพื่อการสื่อสารระดับประเทศ ระบบข้อมูลสารสนเทศดาวเทียม อุตสาหกรรมเกมและศึกษาบันเทิง ระบบเครือข่ายองค์กรวิสาหกิจ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ของวิสาหกิจขนาดใหญ่ เป้นต้น
วิศวกรสารสนเทศและการสื่อสารจะมีความรู้ทางด้านวิศวกรรมทั่วไป โดยเน้นความรู้พื้นฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารสารสนเทศ ระบบเครือข่าย ศาสตร์การบริหารจัดการ การประมวลและการจัดการวิสาหกิจ ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการผนวกรวมองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมโทรคมนาคม เข้าด้วยกัน
วิศวกรรมสารสนเทศ (Information Engineering) เป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการข้อมูลข่าวสาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความต้องการของมนุษย์
การจัดการข้อมูลข่าวสาร ในที่นี้นั้นหมายถึงการกระทำใดๆต่อข้อมูล เช่น การจัดเก็บ การรับส่งข้อมูล การประมวลผลข้อมูล เป็นต้น
สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ จะมุ่งเน้นการศึกษาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในสาขาต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ตลอดจนถึงสาขาทางวิศวกรรมไฟ้ฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบควบคุม เป็นต้น
ยก ตัวอย่างเช่น การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แล้วส่งผ่านระบบโครงข่ายการสื่อสารแบบมี สายหรือแบบไร้สายไปยังปลายทาง ตลอดจนการจัดเก็บและการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
วิศวกรรมสมุทรศาสตร์ (อังกฤษ: Oceanic Engineering หรือ Ocean Engineering) เป็นสาขาทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน เพื่อใช้กับสภาพแวดล้อมทางทะเล(รวมถึงมหาสมุทร) โดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ทั่วๆไป รวมกับความรู้ทาง ชลพลศาสตร์(hydrodynamics), กลศาสตร์ทางโครงสร้าง (structural mechanics), ปรากฏการณ์การสั่นประเทือน (vibratory phenomina),การแปลงพลังงาน (energy conversion), วัสดุศาสตร์ และ อิเล็กทรอนิกส์
จริงๆ แล้ววิศวกรรมสมุทรศาสตร์เป็นสาขาที่ประยุกต์ความรู้ทางวิศวกรรมหลายๆด้าน เช่นวิศวกรรมเครื่องกล,วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมเสียง(Acoustical Engineering)เข้าด้วยกันกับศาสตร์ทางด้านนาวาสถาปัตยกรรม (Naval Architecture)และวิทยาศาสตร์ทางทะเล (Ocean Science)
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นงานทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ ก่อสร้าง ควบคุมดูแลระบบเพื่อแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะทางน้ำ อากาศ เสียง ขยะ สารพิษอันตราย รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับ ระบบประปา ระบบท่อภายในอาคาร งานสุขาภิบาล งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม





 

แนวทางการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์




สาขาวิศวกรรมโยธา

ชื่อหลักสูตร : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
อักษรย่อ : วศ.บ. วิศวกรรมโยธา (จําานวน 150 หน่วยกิต)
ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตร :
  เรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมโดยมุ่งเน้นทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมการทางและขนส่ง วิศวกรรมทรัพยากรนํา้า วิศวกรรมสําารวจ และวิศวกรรมการก่อสร้าง
จุดเด่นหลักสูตร :
   เน้นความเป็นวิศวกรควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน ความรู้ด้านวิศวกรรมโยธาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติพร้อมการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทําางานเป็นทีม และการนําาเสนอ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา :
   เป็นผู้สําเร็จการศึกษาไม่ตํา่ากว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สําหรับระบบปกติ หรือเป็นผู้สําเร็จการศึกษาไม่ตํา่ากว่าขั้นอนุปริญญาหรือเทียบเท่าสําาหรับระบบต่อเนื่อง 
แนวทางการศึกษาต่อ :
   สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกได้ทั้งภายในและต่างประเทศ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
   วิศวกรโยธาหรืออาชีพที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน อาจารย์ หรือธุรกิจส่วนตัวย






หลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์




หลักสูตรปริญญาตรี

รวมทั้งสิ้น 18 หลักสูตร ได้แก่ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) 17 สาขาวิชา (รวมหลักสูตรนานาชาติ 4 หลักสูตร) วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่


1. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
3. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
4. สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม
5. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
6. สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี
7. สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
8. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
9. สาขาวิชาวิศวกรรมเรือ
10. สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการและวัสดุ
11. สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ
12. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
13. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
14. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์


หลักสูตรนานาชาติ

15. สาขาวิชาการออกแบบและการผลิตยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
16. สาขาวิชาวิศวกรรมนาโน(หลักสูตรนานาชาติ)
17. สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ)
18. สาขาวิศวกรรมอากาศยาน(หลักสูตรนานาชาติ)


หลักสูตรปริญญาโท

รวมทั้งสิ้น 19 หลักสูตร ได้แก่ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) จำนวน 15 สาขาวิชา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) จำนวน 4 สาขาวิชา (รวมหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตร) ได้แก่

1. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (วท.ม.)
2. สาขาวิชาระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม (วท.ม.)
3. สาขาวิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี (วศ.ม.)
4. สาขาวิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี (วท.ม.)
5. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วศ.ม.)
6. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
7. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
8. สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (วท.ม.)
9. สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี
10. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
11. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
12. สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ
13. สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ
14. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
15. สาขาวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ


หลักสูตรนานาชาติ

16. สาขาวิชาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา(หลักสูตรนานาชาติ)
17. สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม (หลักสูตรนานาชาติ)
18. สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
19. หลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศ
20. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช (สหสาขาวิชา)
21. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช (สหสาขาวิชา)




หลักสูตรปริญญาเอก

รวมทั้งสิ้น 11 หลักสูตร ได้แก่ วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) จำนวน 11 สาขาวิชา (รวมหลักสูตรนานาชาติ 1 หลักสูตร)

1. สาขาวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์
2. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
4. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
5. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
6. สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ
7. สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ
8. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
9. สาขาวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ
10. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
11. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช (สหสาขาวิชา)


หลักสูตรนานาชาติ

11. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)





 

วิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธา คืออะไร




วิศวกรรมโยธา [Civil Engineering]

 

วิศวกรรมโยธาคืออะไร 

วิศวกรรม โยธาเป็นศาสตร์ทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม และการสร้างและใช้สิ่งก่อสร้าง เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมมนุษย์ โดยจะรวมขั้นตอนการออกแบบ การวิเคราะห์ การก่อสร้างหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การจัดการ และการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม งานทางด้านวิศวกรรมโยธามีตัวอย่างเช่น งานออกแบบก่อสร้างและบำรุงรักษาอาคารสูง บ้าน สะพาน เส้นทางรถไฟฟ้า สนามบิน ท่าเรือ เขื่อน ถนน เป็นต้น

 

วิศวกรรมโยธาเรียนเกี่ยวกับอะไร

ใน ระดับปริญญาตรี นักศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาจะเรียนเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างทางโยธาในหลาย รูปแบบ เช่น อาคาร สะพาน สนามบิน ท่าเรือ เขื่อน ถนน สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น โดยจะเรียนตั้งแต่การตรวจสอบว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีสิ่งก่อสร้างเหล่า นี้หรือไม่ และจะเรียนวิธีวิเคราะห์และออกแบบสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ซึ่งจะรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆ สิ่งก่อสร้างด้วย นอกจากนี้ นักศึกษาจะได้เรียนเกี่ยวกับการจัดการ การดำเนินการ และการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ด้วย



ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

ผู้ที่จะเข้าศึกษาควรมีความรู้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ที่ดีพอสมควร




 

ลักษณะอาชีพวิศวกรโยธา





ลักษณะอาชีพวิศวกรรมโยธา 
ลักษณะของงานที่ทำ :

1. วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ
2. ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการติดตั้ง การใช้ และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิก
และระบบสาธารณสุขอื่นๆ
3. พิจารณาโครงการ และทำงานสำรวจเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการก่อสร้าง
4. สำรวจและประเมินลักษณะ และความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศ ทางบก และทางน้ำเพื่อพิจารณาว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไรบ้าง
5. สำรวจดูพื้นผิวดินและใต้ผิวดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างใด และเหมาะสมที่จะรองรับ สิ่งก่อสร้างเพียงใด
6. ปรึกษา หารือในเรื่องโครงการกับผู้ชำนาญงานสาขาอื่นๆ เช่น วิศวกรไฟฟ้า หรือวิศวกรช่างกล วางแผนผังรากฐาน ท่อสายไฟ ท่อต่างๆ และงานพื้นดินอื่นๆ คำนวณความเค้น ความเครียด จำนวนน้ำ ผลอันเนื่องมาจากความ
7. แรงของลมและอุณหภูมิ ความลาด และเหตุอื่นๆ
8. เตรียมแบบแปลนรายงานก่อสร้าง และจัดทำประมาณการวัสดุและประมาณการราคา
9. เลือกชนิดของเครื่องมือขนย้ายดิน เครื่องชักรอก เครื่องจักรกล และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะใช้ในงานก่อสร้าง
10. จัดทำตารางปฎิบัติงานและควบคุมให้การปฎิบัติงานไปตามแผนที่วางไว้ ทดสอบ และตรวจดูโครงสร้างทั้งเก่า และใหม่ ตลอดจนวางแผนและจัดระบบงานซ่อม 



 สภาพการทำงาน :


    สถานที่ทำงานของวิศวกรโยธาจะมีสภาพเหมือนที่ทำงานทั่วไป คือ เป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป แต่โดยลักษณะงานที่จะต้องควบคุมงานสำรวจ ก่อสร้าง หรือซ่อมแซม จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจดูงานนอกสถานที่ในบางครั้ง เนื่องจากต้องควบคุมดูแลงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับงานหรือสถานที่ทำงานที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย ในการทำงาน วิศวกรโยธาจึงต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน
 


คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้  :

      1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา
      2. เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่น ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเพื่อหาวิธีที่ประหยัด และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      3. มีวิสัยทัศน์ และสนใจกับเหตุการณ์ ข่าวสารที่เกิดขึ้นตลอดเวลา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีจรรยาบรรณของวิศวกร
      4. มีความอดทนและเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ มีอารมณ์เยือกเย็น มีความคิดสุขุม
      5. มีลักษณะเป็นผู้นำ ทั้งนี้งานส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการควบคุมคนเป็นจำนวนมาก
      6. มีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี
      7. ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรในทุกสาขาควรจะมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อใช้ใน การรับรองสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ และวุฒิการศึกษาตามข้อกำหนด โดยจะขอรับใบอนุญาตได้ที่ กองวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สังกัดในกระทรวงมหาดไทย



ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ :

    ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาวิทยาศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาระยะเวลาการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จ การศึกษาแล้วจะได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) ในสาขาวิศวกรโยธา หรือ เป็นผู้สำเร็จ การศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางด้านช่างจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง วิทยฐานะ เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) ในสาขาวิศวกรโยธา

รายได้ของอาชีพวิศวกรโยธา




รายได้ของอาชีพวิศวกรโยธา 
 
ทั่วไปของบัณฑิตที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีและมีอายุการทำงาน 2 ปีขึ้นไปจะอยู่ที่ £24,200 ต่อปี (ประมาณ 1,325,720 บาท) หรือถ้าเป็นสมาชิกของสถาบันวิศวกรโยธาแห่งสหราชอาณาจักร (Institution of Civil Engineers : ICE) เงินเดือนของวิศวกรโยธาในประเทศอังกฤษจะสูงถึง £48,588 ต่อปี หรือประมาณ 2,657,424 บาท เลยทีเดียว

ความก้าวหน้าของอาชีพวิศวกร





ความก้าวหน้าของอาชีพวิศวกร



โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
 
                ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรโยธาหากทำงานเพิ่มประสบการณ์ และได้รับการอบรมในวิชาที่ เกี่ยวข้อง และมีความสามารถในการบริหาร ก็สามารถเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารโครงการได้สำหรับผู้ที่ศึกษาเพิ่มเติมถึง ขั้นปริญญาโท หรือปริญญาเอก สามารถที่จะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั่วไปได้


โอกาสในการมีงานทำ

                 สำหรับแหล่งจ้างงานวิศวกรโยธา โดยทั่วไปจะเป็นสถานประกอบการทั่วไป หรือ หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังประสบปัญหาอยู่ในช่วงนี้ ทำให้การลงทุนเพื่อขยายตัวชะงักไป การก่อสร้างอาคารสำหรับการพักอาศัยหรือสำหรับเป็นอาคารสำนักงานจะไม่ค่อยมี โครงการใหญ่ๆ หรือโครงการใหม่เกิดขึ้นมากนักแต่จะยังคงมีโครงการงานการก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่าง ๆ เช่น ถนนสะพานทางหลวง แนวโน้มความต้องการของตลาด แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ขณะนี้ยังคงที่ตามภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ และกำลังมีการดำเนินงานก่อสร้างสาธารณูปโภคโครงการใหญ่ๆ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งยังมีความต้องการบุคลากรด้านนี้และคาดว่าจะมีการแข่งขันเพื่อเข้าทำงาน สูง เนื่องจากมีแรงงานเก่าที่ค้างอยู่และมีแรงงานใหม่ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา เข้าสู่ตลาดแรงงาน
                เมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นประเทศไทยที่กำลังอยู่ระหว่าง การพัฒนาจะกลับฟื้นตัวและขยายการลงทุนขึ้นอีก ฉะนั้นงานสำหรับวิศวกรโยธาจะกลับมาเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอีกตามอัตรา การขยายตัวของอาคารก่อสร้างและการพัฒนาประเทศ โดยการลงทุนในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ



อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง


วิศวกรโยธา (ก่อสร้างอาคาร)

วิศวกรโยธา (ก่อสร้างถนนและทางหลวง)

วิศวกรโยธา (ก่อสร้างท่าอากาศยาน)วิศวกรโยธา (ก่อสร้างทางรถไฟ)

 วิศวกรรถไฟ

วิศวกรโยธา (สุขาภิบาล)

วิศวกรสุขาภิบาล